โคลอสเซียม (Colosseum)

       


 แต่เดิม สัญลักษณ์ของกรุงโรมแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่า “ฟลาเวียน แอมพิเธียเตอร์
ตามนามสกุลของจักรพรรดิผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้าง  โดยนับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมาในสมัยอาณาจักรโรมัน  ครั้นเมื่อเสร็จสมบูรณ์ โคลอสเซียมได้ถูกใช้จัดการแข่งขันกลาดิเอเตอร์ การประหาร และการแสดงละครเกี่ยวกับทวยเทพเพื่อมอบความบันเทิงให้แก่ผู้ชม ปัจจุบัน  สนามกีฬาโคลอสเซียมได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านโทษประหารชีวิตโดยโคลอสเซียมจะส่องสว่างด้วยสีเหลืองทุกครั้งที่มีการกลับคำตัดสินหรือยกเลิกโทษประหารชีวิตไม่ว่าจะที่ใดในโลก ในบางครั้งจะมีการเรียกชื่อ โคลิเซียม (Coliseum)สำหรับที่มาของคำว่า  โคลอสเซียม  นักประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ยอมรับร่วมกันได้ ทฤษฏีที่คาดกันว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ เรียกตามชื่อรูปปั้นทองแดงขนาดใหญ่ โคลอสซุส” (Colossus) ของจักรพรรดิเนโร ที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณเดียวกัน นั่นเอง
       สำหรับ โคลอสเซียม (Colosseum) คือ โครงสร้างวงกลมรี มี 4 ชั้น แยกเป็นสองส่วน ส่วนบนประกอบด้วย ระเบียงเปิด 3 ชั้น สร้างด้วยหินปูน และชั้นที่ 4 สร้างเป็นห้องพร้อมด้วยออกแบบหน้าต่างเว้นระยะสองห้องต่อหนึ่งช่อง เส้นผ่านศูนย์กลางจากด้านตะวันออกถึงตะวันตก 188 เมตร จากทิศเหนือจดทิศใต้ 156 เมตร วัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ประกอบด้วย เสาหลักสร้างด้วยหินปูนแกร่ง ขณะที่เสาทั่วไปสร้างด้วยหินปูนชนิดพรุนและอิฐ พื้นและกำแพงสร้างด้วยกระเบื้อง และเพดานทรงโค้งภายในอาคารสร้างด้วยซีเมนต์ จากการใช้วัสดุผสมในงานก่อสร้างดังกล่าว ทำให้ โคลอสเซียม มีความทนทานสูง นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมมหึมาอายุกว่า 1,900 ปี แล้ว ยังทำให้นักประวัติศาสตร์ต้องอึ่งในความสามารถในผู้คนสมัยนั้นอีกอย่าง คือ ใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 10 ปี ด้วยความสามารถและเครื่องมือในสมัยนั้น ไม่น่าจะสร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และจุผู้คนระดับ 5 หมื่นคนขึ้นไป ได้เร็วเพียงนี้!
     นักประวัติศาสตร์บันทึกประวัติที่มาจาก โคลอสเซียม ไว้ว่า ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 72 ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian) กษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟลาเวียน (Flavian) สถานที่ก่อสร้างเป็นบริเวณที่ลุ่มระหว่าง 4 เนินเขา ประกอบด้วย ปาลาไทน์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  เวเลีย ทางทิศตะวันตก เชลิโอ ทางทิศตะวันออก และคอล ออพพิโอ หรือเอสควิไลน์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ) ทางทิศเหนือ

เดิมทีพื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพระราชวังของจักรพรรดิเนโร (Nero) ซึ่งพระองค์ทรงยึดมาจากที่ดินของประชาชน จนกระทั้งจักพรรดิเนโร ได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 68 ก่อเกิดการชิงพระราชบัลลังก์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งจักรพรรดิเวสปาเซียน ทรงได้รับชัยชนะ และขึ้นครองราชย์ พระองค์มีความประสงค์จะเรียกความนิยมจากชาวโรมัน จึงสั่งรื้อพระราชวังเดิมของจักรพรรดิเนโรออก แล้วสร้างเป็นสนามกีฬา เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมการแสดง และการแข่งขันกีฬาในยุคนั้น

แต่แล้วการก่อสร้าง โคลอสเซียม ก็ไม่ทันเสร็จในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน พระองค์สิ้นพระชนม์ไปก่อน จึงตกเป็นหน้าที่สานต่อของพระจักรพรรดิติตุส พระโอรส ในเวลาต่อมาพระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไปอีก งานก่อสร้างจึงสมบูรณ์แล้วเสร็จ ในสมัยพระจักรพรรดิโดมิเทียน พระอนุชา กินเวลาก่อสร้างเป็นเวลา 10 ปี

       ภายในสนามเป็นอัฒจันทร์ที่นั่ง สร้างด้วยหินปูนแกร่ง มีระดับความลาดเอียง 37 องศา มีช่องทางเข้าเป็นสัดส่วนจากภายนอก แต่ละชั้นสูง 4.85 เมตร อัฒจันทร์แถวล่างสุดสูงจากพื้นสนาม 3.60 เมตร บริเวณพื้นสนามมีโพเดี้ยมสร้างด้วยหินอ่อนโดยรอบ ใต้พื้นสนามสร้างเป็นห้องต่างๆ ประกอบด้วย ห้องนักสู้ เกลดิเอเตอร์กรงขังสัตว์ที่จะนำมาต่อสู้กับเกลดิเอเตอร์ ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องมือการต่อสู้ของเกลดิเอเตอร์ ห้องเก็บวัสดุก่อสร้างบางส่วน และห้องเก็บ ลิฟต์หรือเครื่องยกกรงสัตว์ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งของพื้นสนามสามารถเลื่อนออกได้ ใช้เป็นประตูยกกรงสัตว์ขึ้นสู่สนาม

โคลอสเซียม (Colosseum) เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของเวสปาเรียน จักรพรรดิโรม พระองค์เริ่มครองราชย์ในปี ค.ศ. 69 และด้วยความต้องการที่จะหล่อหลอมราชวงศ์ขึ้นใหม่สำหรับตระกูลของพระองค์ จึงริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดมหึมาขึ้น โดยโคลอสเซียมเป็นส่วนหนึ่งในนั้น
และนี่ทำให้โคลอสเซียมเป็นสนามกีฬาของโรมที่ใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่มีการสร้างขึ้น ด้วยทรัพย์สินตั้งแต่โต๊ะไปจนถึงเชิงเทียนทองคำแท้ที่โรมปล้นมาจากการยึดพระวิหารที่เยรูซาเลม มันจุผู้คนได้ราว 55,000 คน และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 80 เพื่อใช้แทนสนามกีฬาไม้ซึ่งถูกเผาไปในรัชสมัยของ จักรพรรดิเนโรด้วย

การสร้างชั้นเลิศของโรมที่ใช้คอนกรีตที่ทำมาจากทรายภูเขาไฟเท่านั้น จึงทำให้ สามารถสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตซึ่งสูงถึง 160 ฟุตนี้ได้สำเร็จ เพราะมันช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กลายเป็นวัสดุพิเศษและสามารถแข็งตัวได้แม้กระทั่งในน้ำ
แม้จะมีขนาดใหญ่และจุคนได้มากมายขนาดนั้น แต่ด้วยโถงทางเดินและบันไดซึ่งนำไปสู่ทางเข้า 76 ช่องทางก็สามารถทำให้ผู้ชม 55,000 คน ไปสู่ที่นั่งของตนได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ยังไม่รวมทางเดินใต้ดินที่เหมือนกับเขาวงกต ห้องโถงต่างๆ ที่มีไว้ให้นักสู้เตรียมตัวและเตรียม!ป่าให้พร้อม และเวทีที่ยกขึ้นด้วยรอกเพื่อปิดบังประตูกลบนพื้นสังเวียน ที่ช่วยความตื่นเต้นให้กับผู้ชม
หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 79 ไทตัส พระโอรสของพระองค์เองก็ขึ้นสืบทอดราช บัลลังก์ต่อมา ไทตัสตัดสินพระทัยที่จะสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนด้วยการนำเสนอการแข่งขันในพิธีเปิดโคลอสเซียมที่ยิ่งใหญ่อลังการ และดูเหมือนว่าวิธีการนี้จะได้ผล
เพราะการแข่งขันที่ยาวนานกว่า 100 วัน ในครั้งนั้นทำให้ไทตัสเป็นจักรพรรดิที่ได้รับความนิยมสูงสุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์โรม แต่การครองราชย์ของพระองค์นั้นสั้นกว่าของพระบิดามาก เพียงแค่หกเดือนหลังจากการแข่งขันรอบปฐมฤกษ์พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยอาการประชวรลึกลับ
การต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์เริ่มขึ้นในฐานะพิธีกรรมในงานศพของพลเมืองที่มั่งคั่ง หลังจากผ่านไปหลายศตวรรษ มันได้พัฒนาเป็นความบันเทิงที่ได้รับความนิยม !ป่ามากมายถูกฆ่าในการต่อสู้ชนิดนี้ จนถึงกับทำให้!หายากบางชนิดสูญพันธุ์ไปจริงๆ
ฮิปโปโปเตมัสไม่มีการพบอีกเลยในอียิปต์ ช้างตายไปจากภาคเหนือของแอฟริกา และสิงโตก็หายไปจากภูมิภาคตะวันออกใกล้
เป็นเวลากว่า 500 ปีที่การต่อสู้เอาเป็นเอาตายในสังเวียน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่สามัญชน ได้ครอบงำสังคมโรม นักสู้แต่ละคนที่ก้าวเข้ามาจะต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่งต่อหน้าผู้ชม 55,000 คนที่โห่ร้องด้วยความสะใจ
แม็กซิมัสตัวละครที่แต่งขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง Gladiator อาจไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง แต่หนึ่งในนักสู้ที่ผ่านสังเวียนแห่งนี้มามากมาย ชื่อของเวรัส กลับเป็นนักสู้เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
เวรัสเกิดมาเป็นเสรีชน แต่เขาถูกจับในปี ค.ศ. 76 ที่ชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรโรม เขาถูกนำตัวกลับมายังอิตาลีและถูกบังคับให้เป็นทาส เวรัสทำงานอยู่ในเหมืองหนึ่งปีก่อนจะฉวยโอกาสหนีจากการงานอันตรากตรำของทาสในเหมืองหิน และถูกนำไปเป็นนักสู้ฝึกหัด
เขาเข้ารับการฝึกเพื่อจะเรียนรู้เทคนิคอัน ซับซ้อนและต้องใช้ฝีมืออย่างสูงของนักสู้กลาดิเอ เตอร์ เวรัสหล่อหลอมมิตรภาพกับนักสู้ฝึกหัดคนอื่นๆ และเรียนรู้ว่าชีวิตของกลาดิเอเตอร์นั้นอาจจะโสมม ป่าเถื่อน แต่เขาก็เรียนรู้เช่นกันว่าหากมีโชค ฝีมือและความกล้าหาญสุดหัวใจ นักสู้ในสังเวียนก็สามารถโด่งดัง ร่ำรวย ดึงดูดสตรีมากมายให้มาหลงใหล ในที่สุดเวรัสก็สามารถไต่อันดับขึ้นมาและกลายเป็นนักสู้ในสังเวียนที่โด่งดังจนได้
นักสู้กลาดิเอเตอร์จะถูกแบ่งเป็น 10 ระดับ โดยนักสู้ระดับสูงสุดจะได้รับเงินจากการต่อสู้ครั้งเดียวเป็นเงินมากกว่า 15 เท่าของรายได้ทั้งปีของทหารราบ ขณะที่นักสู้ในสังเวียนมีมากกว่า 12 ประเภท ซึ่งรวมถึงมูร์มิลลอสที่ถือโล่ขนาดใหญ่และดาบเล่มยาว ธราเชียนซึ่งต่อสู้เหมือนคนกรีก และ เรทาริอัส ซึ่งใช้แหและสามง่ามเป็นอาวุธ
แม้ว่านักสู้ในสังเวียนส่วนมากจะเป็นทาส แต่ไม่ใช่ทุกคน เพราะเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่สองนักสู้กลาดิเอเตอร์มากกว่าหนึ่งในสามเป็นคนที่สมัครใจเข้ามา โดยมีชื่อเสียงและความมั่งคั่งเป็นสิ่งล่อใจ และการต่อสู้ทุกครั้งก็ไม่ได้จบลงด้วยความตายเสมอไป พวกเขามีโอกาสที่ดีที่จะเอาชีวิตรอด และหลายคนก็อำลาสังเวียนไปหลังจากประสบความสำเร็จในอาชีพนี้
สำหรับคนที่เสียชีวิตพวกนักสู้ในสังเวียนได้ร่วมกันตั้งชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ เพื่อจ่ายเงินสำหรับการทำศพแก่นักสู้ที่เสียชีวิต พวกเขาเชื่อว่าถ้าไม่มีการทำศพอย่างถูกต้อง ผู้ที่ตายจะถูกสาปให้ เร่ร่อนเป็นผีอยู่ในโลกตลอดไป




แหล่งข้อมูล




ไม่มีความคิดเห็น: